บทความ

บอกบุญ

เสื้อพระพุทธเมตตามหาบารมี

รูปภาพ
✍ ️ กองทุนพระพุทธเมตตามหาบารมี ก่อตั้งโดย 🙏  พระปัญญานันทมุน ี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์ 🙏 ขอเชิญร่วมบุญเสื้อพระพุทธเมตตามหาบารมี 🙏 📢  วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสามัคคีในพุทธศาสนิกชนและเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์วัดสำนักใหม่ให้คนทั่วไปได้รู้จักมากยิ่งขึ้น 👕  Size : S, M, L, XL แบบ คอกลม 170 บาท 👈 แบบ โปโล 270 บาท 👈 🧘 ‍  สั่งซื้อได้จ๊ะ อินบ๊อกได้เลยจ้า   m.me/Samnakmaitemple 🧘 ‍  เงินทุกบาทไม่หักค่าใช้จ่ายมอบให้แด่ กองทุนพระพุทธเมตตามหาบารมี ณ. วัดสำนักใหม่ ต.ขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ทั้งหมดจ๊ะ 😊 สอบถามเพิ่มเติม   พระอาจารย์มหาประสิทธิ์ (รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสำนักใหม่) ณ. วัดสำนักใหม่ ต.ขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช 80230 Facebook : วัดสำนักใหม่ https://www.facebook.com/Samnakmaitemple

การบวช คือ อะไร

รูปภาพ
การบวช และอานิสงส์ของการบวช คือ อะไร โดย พุทธทาส ภิกขุ เมื่อมีปัญหาขึ้นมาว่า การบวช คืออะไร ? ดังนี้แล้ว ทางที่ดีที่สุดควรจะถือเอาใจความตัวพยัญชนะคำว่า “บวช” นั่นเอง คำว่า “บวช” เป็นภาษาไทย ซึ่งถอดรูปมาจากคำในภาษาบาลีว่า ปพฺพชฺชา คำว่า “ปพฺพชฺชา” นี้ มีรากศัพท์ คือ ป + วช : ป แปลว่า ทั่วหรือสิ้นเชิง วช แปลว่า ไป หรือเว้น คำว่า ป + วช จึงแปลว่า ไปโดยสิ้นเชิง หรือ เว้นโดยสิ้นเชิง ที่ว่า “ไปโดยสิ้นเชิง” นั้นหมายถึง ไปจากความเป็นฆราวาส คือ จากการครองเรือนไปสู่ความเป็นบรรพชิต คือ ผู้ไม่ครองเรือนโดยสิ้นเชิง โวหารที่สูงไปกว่านั้น ท่านเรียกว่า ไปจากโลกโดยสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่า ละเสียจากวิสัยที่ชาวโลกเขามีกัน เป็นกันโดยสิ้นเชิง นั่นเอง             คำว่า " ไปจากความเป็นฆราวาส " นี้หมายความว่า   ไปจากบ้านเรือน   ซึ่งหมายถึง การสละความมีทรัพย์สมบัติ การสละวงศ์ญาติทั้งหลาย การเลิกละการนุ่งห่มอย่างฆราวาส เลิกละการกินอยู่อย่างฆราวาส เลิกละการใช้สอยอย่างฆราวาส เลิกละอาการกิริยาวาจาอย่างฆราวาส เลิกละความรู้สึกนึกคิดอย่างฆราวาสสิ้นเช

คำว่า "อนุโมทามิ" คำนี้ต่างกับคำว่า "อนุโมทนา" อย่างไร

รูปภาพ
คำว่า “ อนุโมทามิ ” คำนี้ต่างกับคำว่า "อนุโมทนา" อย่างไร “ อนุโมทนา แปลว่า -   “ การชื่นชมยินดีภายหลังจากที่มีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น ” “ การชื่นชมยินดีภายหลังจากที่รู้ หรือเห็นคนอื่นทำความดี ” “ เรื่องดี ๆ เกิดขึ้นก่อน รู้สึกชื่นชมยินดีตามหลังมา ” “ การชื่นชมยินดีอยู่เสมอ ๆ เมื่อเห็นคนทำดี ” ส่วน “ อนุโมทามิ ”  เป็นคำกริยา ( verb ) ประกอบด้วย อนุ + มุท + มิ = อนุโม ทามิ แปลตามตัวว่า “ ข้าพเจ้าชื่นชมยินดีด้วย ” (เฉพาะ I am…. เท่านั้น) มี ความหมายเช่นเดียวกับ อนุโมทนา “ อนุโมทนา ” หรือไม่ก็ ‘ อนุโมทามิ ” (ต่อด้วย “ สาธุ ” ก็ยิ่งดี) ไม่ใช่ “ อนุโมทนามิ ” ระวังอย่าพูดผิด Cr. Facebook  https://www.facebook.com/tsangsinchai

ประเพณีชักพระ

รูปภาพ
ประเพณีชักพระ ความสำคัญ ตามคำบอกเล่าของตำนานเล่ากันไว้ว่า...ประเพณีชักพระหรือลากพระเป็นประเพณีสำคัญของชาวใต้มาเก่าแก่มานมนาน ประเพณีชักพระจะอยู่ในช่วงวันออกพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดิอน 11)            เป็นประเพณีทำบุญ ในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับ มายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ  ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใส และรู้สึกปลาบปลื้มใจ จึงเชิญพระพุทธเจ้าให้ประทับบนบุษบก และแห่ไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ในยุคต่อมาชาวบ้านจึงนำพระพุทธรูปมาแห่แทนพระพุทธองค์ ประเพณีชักพระหรือลากพระมีผู้ สันนิษฐานว่า ...เกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามลัทธิของศาสนาพราหมณ์ ที่นิยมนำเทวรูปออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ ต่อมาชาวพุทธศาสนิกชน ได้นำมาดัดแปลงให้ตรงกับศาสนาพุทธ ประเพณีชักพระหรือลากพระได้ถ่ายทอดมาถึงประเทศไทยในบริเวณภาคใต้ได้รับ และมีการนำไปปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชาวใต้มีความเชื่อว่าการลากพระ จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลหรือเป็นการขอฝน เพราะผู้ประกอบพิธีส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ประ

สมเด็จพระสังฆราช

รูปภาพ
“สมเด็จพระสังฆราช”      ความหมายของคำว่า "สังฆราช" แปลว่า ราชาของสงฆ์ ราชาของหมู่คณะ หมายถึง พระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า "สมเด็จพระสังฆราช"   ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตามที่มีหลักฐานปรากฏบนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ว่า "สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" เป็น ตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้นนำแบบอย่างมาจากลัทธิลังกาวงศ์ ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็น"สกลมหาสังฆปริณายก" มีอำนาจว่า กล่าวออกไปถึงหัวเมือง มีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นสังฆราชขวา และ สมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่าก็ได้เป็น พระสังฆราช ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป จนมีความชอบ เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราช ทินนาม

ศาสนพิธี

รูปภาพ
ศาสนพิธี    ศาสนพิธี   คือ  พิธีกรรมที่มีขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อทางพุทธศาสนา  การประพฤติปฏิบัติศาสนพิธี  ต้องทำอย่างถูกต้องเป็นระเบียบ  เกิดความสบายใจ  ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนดีเป็นแบบอย่างที่ดีได้    ๑.  ประเภทของศาสนพิธี    ศาสนพิธีในทางพุทธศาสนาแบ่งได้หลายประเภท  ตามความต้องการของผู้ที่จะศึกษาว่า จะศึกษาในแนวใด เช่น แบ่งเป็น งานมงคล กับ งานอวมงคล หรืองานศาสนพิธีสำหรับพระสงฆ์กับงานศาสนพิธีของประชาชน        ๑.๑  ศาสนพิธีในงานมงคลกับงานอวมงคล  มีวิธีการดังนี้           ๑.๑.๑  ศาสนพิธีในงานมงคล   คือ  การทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล เพื่อให้เกิด  ความสุข ความเจริญ  เช่น ทำบุญวันเกิด ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน อุปสมบท  ฉลองกิจกรรมต่าง ๆ  เป็นต้น          ๑.๑.๒  ศาสนพิธีในงานอวมงคล   คือ  การทำบุญที่เกี่ยวกับการตาย  หรือทำในสิ่งที่คิดว่าร้ายให้กลายเป็นดี  เช่น  ทำบุญหน้าศพ ๗ วัน  ๕๐  วัน  ๑๐๐  วัน ทำบุญอัฐิ ทำบุญอสุนิบาต  (ฟ้าผ่า)  สัตว์ไม่เป็นมงคลขึ้นบ้าน  เป็นต้น    ศาสนพิธีทั้ง  ๒  อย่างนี้  ตามประเพณีนิยมในพระพุ

วันพระ

รูปภาพ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ   หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่    -  วันขึ้น 8 ค่ำ    -  วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)     -  วันแรม 8 ค่ำ     -  วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)   ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วัน ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ ( สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุ

วันออกพรรษา

รูปภาพ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว" คำว่า "เทโว" ย่อมาจาก"เทโวโรหน" แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลก              รูป  ข้าวต้มลูกโยน ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทยก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดก