สมเด็จพระสังฆราช
“สมเด็จพระสังฆราช”
ความหมายของคำว่า "สังฆราช"
แปลว่า ราชาของสงฆ์ ราชาของหมู่คณะ หมายถึง พระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า "สมเด็จพระสังฆราช" ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช มีมานานแล้ว
ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตามที่มีหลักฐานปรากฏบนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ว่า
"สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย
ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้นนำแบบอย่างมาจากลัทธิลังกาวงศ์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
เป็น"สกลมหาสังฆปริณายก" มีอำนาจว่า กล่าวออกไปถึงหัวเมือง
มีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นสังฆราชขวา และ สมเด็จพระวันรัต
เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่าก็ได้เป็น
พระสังฆราช ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี
ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป จนมีความชอบ เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช
พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราช ทินนามนี้ไว้
จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น
"สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี" และมาเป็น
"สมเด็จพระอริยวงษญาณ" ในสมัยกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนเป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ"
ใช้พระนามนี้จนถึงปัจจุบัน เมื่อย้อนกลับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่
9 รัชกาลปัจจุบัน มีพระมหาเถระได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้ว 20
พระองค์ ประกอบด้วย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า 3 พระองค์, สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า 2 พระองค์ และสมเด็จพระสังฆราช 15 พระองค์
โดยจะมีพระนามสองอย่าง หากเป็น เจ้านายเชื้อพระวงศ์จะมีคำนำหน้าพระนามว่า
"สมเด็จพระสังฆราชเจ้า" หรือ "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า"
หากเป็นสามัญชนมีคำนำหน้าว่า "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ"
ในส่วนของบทบาทและอำนาจหน้าที่นั้น เดิมเมื่อยังไม่มีกฎหมายคณะสงฆ์
สมเด็จพระสังฆราชมี อำนาจหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ตามพระธรรมวินัย ระเบียบแบบแผนในฐานะเป็นพระมหาเถรผู้ใหญ่สุดของคณะสงฆ์เท่านั้น
อำนาจบัญชาการอันเป็นตัวบทกฎหมายยังอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ผู้เป็นเอกอัคร
ศาสนูปถัมภก และอยู่ที่เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ผู้บริหารกิจการพระศาสนาต่างพระเนตรพระกรรณ ซึ่ง ออกเป็นพระบรมราชโองการ
หรือประกาศให้คณะสงฆ์ถือปฏิบัติหรือวางระเบียบในการปกครอง ต่อมาเมื่อประกาศใช้
พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าคณะ ใหญ่และเจ้าคณะรอง
เป็นมหาเถรสมาคมเป็นที่ทรงปรึกษากิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาในขณะยังว่าง
สมเด็จพระสังฆราช ต่อเมื่อได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชอำนาจบัญชาการคณะสงฆ์ในสมัยนี้ตกมาอยู่กับ
องค์สมเด็จพระสังฆราชมากขึ้น สมเด็จพระสังฆราชมีอำนาจในการบัญชาการคณะสงฆ์
หรือมีพระบัญชา สมเด็จพระสังฆราชในกิจการคณะสงฆ์ได้ แต่อำนาจสูงสุดอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ตามรูปแบบการปกครอง
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั่นเอง ต่อมาเมื่อประกาศใช้ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 อ
านาจหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเด่นชัดขึ้น เป็นอำนาจสูงสุดเด็ดขาด
ไม่ขึ้นกับองค์พระมหากษัตริย์ หรือฝ่ายบ้านเมืองอีก พระองค์มีอำนาจในการ
บัญชาการคณะสงฆ์ในฐานะดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก แต่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย
คือ ทรงออกสังฆาณัติโดยคำแนะนำของสังฆสภา ทรงบริหารการคณะสงฆ์ทางคณะสังฆมนตรี
และทรงวินิจฉัย
อธิกรณ์ทางคณะวินัยธร
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แต่ละฝ่ายรับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้วกฎหมายให้พระองค์ใช้อำนาจนั้น
ในฐานะพระประมุขเท่านั้น ส่วนอำนาจหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในฐานะสกลมหาสังฆปริณายกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. 2505 บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ ว่า “สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก
ทรง บัญชาการคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม” และมาตรา ๙ ว่า “สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถร
สมาคม” ตามกฎหมายนี้ สมเด็จพระสังฆราช
ในฐานะสกลมหาสังฆปริณายกทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดย พระองค์เองได้ และในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
ย่อมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหาร คณะสงฆ์และกิจการพระศาสนาทั้งหมด
ต่างกับสมัยแรกที่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่พระมหากษัตริย์
สมัยต่อมามีอำนาจแต่เพียงในนามพระประมุขจะใช้อำนาจบัญชาการก็ต้องผ่านสังฆสภา
สังฆมนตรี และคณะวินัยธรผ่านสังฆสภา สังฆมนตรี และคณะวินัยธร อำนาจสมเด็จพระสังฆราชในปัจจุบันเท่ากับอำนาจ
สังฆนายก ประธานสังฆสภา และประธานคณะวินัยธร รวมกัน เพราะองค์กรทั้งสาม คือสังฆสภา
คณะสังฆ มนตรี คณะวินัยธร ตามกฎหมายปี 2484
รวมเป็นมหาเถรสมาคม ตามกฎหมายนี้จึงแยกพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ 1. อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก เป็นอำนาจในตำแหน่งพระประมุขโดยตรง
มี 2 อย่างคือ อ านาจบัญชาการคณะสงฆ์กับอำนาจตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
อำนาจบัญชาการ หมายถึง อำนาจที่จะสั่งการใด ๆ อำนาจตราพระบัญชาคือ อำนาจที่จะวางระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติใด
ๆได้ เมื่อมีพระดำริเห็นว่าเป็นการสมควรในการบริหารคณะสงฆ์ กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างกว้าง
ๆ มี ข้อจำกัดเพียงว่า การบัญชาการและการตราพระบัญชานั้น
ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และ กฎมหาเถรสมาคม หากขัดแย้งกับกฎหมาย
พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม ก็ไม่มีผลบังคับ คำสั่งหรือ พระบัญชานั้นใช้ไม่ได้ 2. อำนาจหน้าที่ ในตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
นับเป็นอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหาร และการปกครองคณะสงฆ์ร่วมกับมหาเถรสมาคม
ซึ่งมีอำนาจออก กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือออกคำสั่ง
เพื่อให้การปกครองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับกฎหมายและพระธรรมวินัย
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ มหาเถรสมาคมเป็นสถาบันบริหารการคณะสงฆ์ส่วนกลาง
ซึ่งรวม อำนาจสังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร ตามกฎหมายเก่าเข้าไว้ อำนาจของสมเด็จพระสังฆราชในตำแหน่งนี้
จึงกว้างขวางและมีความรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารคณะสงฆ์ร่วมกับมหาเถรสมาคม
อ่านเพิ่มเติมประวัติพระสังฆราชองค์ที่ 20 ชาวราชบุรี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น