บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2018

คำว่า "อนุโมทามิ" คำนี้ต่างกับคำว่า "อนุโมทนา" อย่างไร

รูปภาพ
คำว่า “ อนุโมทามิ ” คำนี้ต่างกับคำว่า "อนุโมทนา" อย่างไร “ อนุโมทนา แปลว่า -   “ การชื่นชมยินดีภายหลังจากที่มีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น ” “ การชื่นชมยินดีภายหลังจากที่รู้ หรือเห็นคนอื่นทำความดี ” “ เรื่องดี ๆ เกิดขึ้นก่อน รู้สึกชื่นชมยินดีตามหลังมา ” “ การชื่นชมยินดีอยู่เสมอ ๆ เมื่อเห็นคนทำดี ” ส่วน “ อนุโมทามิ ”  เป็นคำกริยา ( verb ) ประกอบด้วย อนุ + มุท + มิ = อนุโม ทามิ แปลตามตัวว่า “ ข้าพเจ้าชื่นชมยินดีด้วย ” (เฉพาะ I am…. เท่านั้น) มี ความหมายเช่นเดียวกับ อนุโมทนา “ อนุโมทนา ” หรือไม่ก็ ‘ อนุโมทามิ ” (ต่อด้วย “ สาธุ ” ก็ยิ่งดี) ไม่ใช่ “ อนุโมทนามิ ” ระวังอย่าพูดผิด Cr. Facebook  https://www.facebook.com/tsangsinchai

ประเพณีชักพระ

รูปภาพ
ประเพณีชักพระ ความสำคัญ ตามคำบอกเล่าของตำนานเล่ากันไว้ว่า...ประเพณีชักพระหรือลากพระเป็นประเพณีสำคัญของชาวใต้มาเก่าแก่มานมนาน ประเพณีชักพระจะอยู่ในช่วงวันออกพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดิอน 11)            เป็นประเพณีทำบุญ ในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับ มายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ  ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใส และรู้สึกปลาบปลื้มใจ จึงเชิญพระพุทธเจ้าให้ประทับบนบุษบก และแห่ไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ในยุคต่อมาชาวบ้านจึงนำพระพุทธรูปมาแห่แทนพระพุทธองค์ ประเพณีชักพระหรือลากพระมีผู้ สันนิษฐานว่า ...เกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามลัทธิของศาสนาพราหมณ์ ที่นิยมนำเทวรูปออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ ต่อมาชาวพุทธศาสนิกชน ได้นำมาดัดแปลงให้ตรงกับศาสนาพุทธ ประเพณีชักพระหรือลากพระได้ถ่ายทอดมาถึงประเทศไทยในบริเวณภาคใต้ได้รับ และมีการนำไปปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชาวใต้มีความเชื่อว่าการลากพระ จะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลหรือเป็น...

สมเด็จพระสังฆราช

รูปภาพ
“สมเด็จพระสังฆราช”      ความหมายของคำว่า "สังฆราช" แปลว่า ราชาของสงฆ์ ราชาของหมู่คณะ หมายถึง พระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า "สมเด็จพระสังฆราช"   ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตามที่มีหลักฐานปรากฏบนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ว่า "สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" เป็น ตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้นนำแบบอย่างมาจากลัทธิลังกาวงศ์ ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็น"สกลมหาสังฆปริณายก" มีอำนาจว่า กล่าวออกไปถึงหัวเมือง มีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นสังฆราชขวา และ สมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่าก็ได้เป็น พระสังฆราช ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป จนมีความชอบ เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราช ทินนาม...

ศาสนพิธี

รูปภาพ
ศาสนพิธี    ศาสนพิธี   คือ  พิธีกรรมที่มีขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อทางพุทธศาสนา  การประพฤติปฏิบัติศาสนพิธี  ต้องทำอย่างถูกต้องเป็นระเบียบ  เกิดความสบายใจ  ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนดีเป็นแบบอย่างที่ดีได้    ๑.  ประเภทของศาสนพิธี    ศาสนพิธีในทางพุทธศาสนาแบ่งได้หลายประเภท  ตามความต้องการของผู้ที่จะศึกษาว่า จะศึกษาในแนวใด เช่น แบ่งเป็น งานมงคล กับ งานอวมงคล หรืองานศาสนพิธีสำหรับพระสงฆ์กับงานศาสนพิธีของประชาชน        ๑.๑  ศาสนพิธีในงานมงคลกับงานอวมงคล  มีวิธีการดังนี้           ๑.๑.๑  ศาสนพิธีในงานมงคล   คือ  การทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล เพื่อให้เกิด  ความสุข ความเจริญ  เช่น ทำบุญวันเกิด ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน อุปสมบท  ฉลองกิจกรรมต่าง ๆ  เป็นต้น          ๑.๑.๒  ศาสนพิธีในงานอวมงคล   คือ  การทำบุญที่เกี่ยวกับการตาย...

วันพระ

รูปภาพ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ   หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่    -  วันขึ้น 8 ค่ำ    -  วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)     -  วันแรม 8 ค่ำ     -  วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)   ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วัน ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่...

วันออกพรรษา

รูปภาพ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว" คำว่า "เทโว" ย่อมาจาก"เทโวโรหน" แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลก              รูป  ข้าวต้มลูกโยน ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทยก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดก...

วันเข้าพรรษา

รูปภาพ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันเข้าพรรษา   ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ " เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และ ออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระจำเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแ...